UFABETWINS กว่าจะมาเป็นกุนซือแชมป์ยุโรปและเเชมป์พรีเมียร์ลีก เจอร์เก้น คล็อปป์ ใช้เวลาสั่งสมประสบการณ์และฝีมืออยู่นานหลายปี
จนกลายเป็นที่รู้จักในวงกว้าง ไม่ใช่แค่การพาทีมคว้าถ้วยเเชมป์เท่านั้น แต่ในฐานะกุนซือผู้ชื่นชอบในการ “ปั้นดินเป็นดาว” ด้วย คล็อปป์ ไม่ค่อยชอบซื้อตัวนักเตะแพงนัก ในกรณีที่ทีมของเขามีข้อจำกัดทางด้านการเงิน นั่นทำให้เราได้เห็นนักเตะอย่าง โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้, มัตส์ ฮุมเมิลส์ และอีกมากมายแจ้งเกิดสมัยที่เขายังคุม ดอร์ทมุนด์ นั่นคือชื่อที่หลายคนอาจจะคุ้นหูกันดี แต่คุณอาจจะไม่รู้ว่ามีนักเตะไทยลีกป้ายเเดงคนหนึ่งที่เคยอยู่ในทีมของคล็อปป์ และเคยมีเพื่อน
ร่วมทีมระดับโลกรายล้อมมากมาย เขาคือ มิตสึรุ มารุโอกะ นักเตะของ บีจี ปทุม ยูไนเต็ด นั่นเอง การเดินทางจาก “นิว ชินจิ คางาวะ” ในสายตาของ “เจเค” สู่ลีกสูงสุดของประเทศไทย เกิดอะไรขึ้นบ้างกว่าจนถึงวันนี้ ติดตามไปพร้อมๆกับ Main Stand เมื่อพระอาทิตย์ขึ้นทางทิศตะวันตก หากย้อนกลับไป 20-30 ปีก่อนวงการฟุตบอล เยอรมัน และสโมสรในเมืองเบียร์นั้นมีค่านิยมที่ทำตามๆกันมาจากรุ่นสู่รุ่น นั่นคือพวกเขาจะไม่ค่อยเปิดรับนักเตะต่างชาติมากมายนัก ยกเว้นชาติ
เดียวเท่านั้นที่สอดแทรกเข้ามาในระบบฟุตบอลเยอรมันได้เเบบนับคนไม่ถ้วน นั่นคือนักฟุตบอลบราซิลนั่นเอง โจวานี่ เอลแบร์,เปาโล แซร์จิโอ,เซ โรแบร์โต้,มาร์เซลินโญ่,ไอล์ตัน และอื่นๆอีกมากมาย นั่นคือยุคที่นักเตะบราซิลตบเท้าเข้ามาและสร้างความยิ่งใหญ่ในลีกบุนเดสลีก้า อย่างไรตามเมื่อเวลาหมุนผ่านหลายสิ่งก็เปลี่ยนไป เมื่อเข้าสู่ช่วงยุคกลางของปี 2000 เกิดปัญหาเมื่อฟุตบอลทีมชาติเยอรมันกลับตกต่ำลง เเชมป์โลก 3 สมัยถูกคาไว้นานเกินไป และฟางเส้นสุดท้ายที่
สมาคมฟุตบอลเยอรมันต้องปฏิวัติกันครั้งใหญ่คือการแพ้อังกฤษ 1-5 คาบ้านของตัวเอง เมื่อนั้นพวกเขาจัดการเปลี่ยนแปลงหลายสิ่งหลายอย่าง หนึ่งในนั้นคือการเลือกใช้งานนักเตะต่างชาติ ที่เปลี่ยนเทรนด์ไปตามโมเดลที่พวกเขาได้วางไว้ นั่นคือฟุตบอลเยอรมันต้องเป็นบอลระบบ ผู้เล่นต้องเข้าใจเกม เข้าใจเพื่อนร่วมทีม พร้อมทำงานหนัก และมีจิตวิญญาณของผู้ชนะ ซึ่งนั่นเองเป็นสิ่งที่นักเตะบราซิลส่วนใหญ่ไม่สามารถให้ได้ นักเตะบราซิลเลี่ยนนั้นเก่งกาจก็จริงแต่พวก
เขาขึ้นชื่อเรื่องความเป็นอารมณ์ศิลปิน เราไม่ได้พูดถึงเรื่องนิสัยส่วนตัวเเต่หมายถึงการเล่นในสนาม นักเตะบราซิลมักจะทำในสิ่งที่เหนือความคาดหมาย สร้างสรรค์ตลอดเวลา และไม่สามารถยึดกับระบบใดระบบหนึ่งไปตลอดได้มากนัก การห้ามพวกเขาไม่ให้สร้างสรรค์ก็รั้นแต่จะทำให้เสียของ ดังนั้นหลังจากหมดยุคพวก เอลแบร์ หรือ ไอล์ตัน การใช้นักเตะบราซิลก็ค่อยๆลดลงไป เเละเปลี่ยนเป็นนักเตะจากสแกนดิเนเวียน หรือประเทศใกล้เคียงอย่าง โปแลนด์ และ
ออสเตรีย ที่เป็นระบบมากกว่า เช่นกันกับหนึ่งในชาติจากเอเชียที่อยู่ในเทรนด์นี้ก็คือ ญี่ปุ่น นั่นเอง เคมีของนักเตะญี่ปุ่นเข้ากับฟุตบอลเยอรมันมาก พวกเขาเป็นพวกมีความรับผิดชอบสูง ได้รับคำสั่งไหนมาก็พร้อมจะรับและปฎิบัติตามแบบไม่มีคำถาม นั่นทำให้นักเตะญี่ปุ่นสามารถเล่นตามระบบได้ นอกจากนี้พวกเขายังมีความเป็นนักสู้ ไม่ยอมแพ้ มีแพสชั่นกับเกมสูง สิ่งเหล่าเรียกอีกอย่างว่า “จิตวิญญาณซามูไร” “คนญี่ปุ่นไม่ค่อยมากเรื่อง มารยาทของญี่ปุ่นมันไม่ใช่มารยาทที่ให้
โวยวาย ไม่แสดงความไม่พอใจ พวกเขาถูกฝึกให้อดทนอดกลั้น” กฤตพล วิภาวีกุล นักศึกษาปริญญาเอกด้าน International study มหาวิทยาลัยวาเซดะ ประเทศญี่ปุ่น อธิบายกับ Main Stand ในบทความเรื่อง “จิตวิญญาณซามูไร” นอกจากเรื่องของนิสัยแล้ว วัฒนธรรมและวิถีชีวิตของคนญี่ปุ่นก็สอดคล้องกับเยอรมันอย่างน่าประหลาด หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลง พวกเขาทั้งคู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม ต้องสร้างประเทศขึ้นมาใหม่จากซากปรักหักพัง พวกเขาจึงต้อง
ผลักดันเรื่องอุตสาหกรรม การศึกษา และ เทคโนโลยีเเบบเต็มตัว ขณะที่ในส่วนของนิสัยนั้นคนเยอรมันและคนญี่ปุ่นต่างก็เป็นพวกกระหายความก้าวหน้าอยู่เสมอ “พวกเราตามรอยพวกเขาไป ชาวญี่ปุ่นเราเก่งมากในการทำงานร่วมกันกับผู้อื่น ในฐานะนักฟุตบอลเมื่อผมมองไปที่ทีมชาติเยอรมัน ผมรู้สึกว่าผมได้เห็นสิ่งเดียวกันกับที่ผมเห็นในทีมชาติญี่ปุ่น พวกเรามาเพื่อเล่นกันอย่างเป็นระบบ สำหรับชาวญี่ปุ่นปรัชญาของทีมสำคัญมากจริงๆ” โกโตคุ ซากาอิ อดีตนักเตะของ
ทีมสตุ๊ตการ์ท กล่าว นั่นคือจุดเริ่มต้นของเหล่าขุนพลซามูไรลูกหนังจากญี่ปุ่นเริ่มได้เข้าไปเล่นในลีกเยอรมันในช่วงปลายยุค 2000 เป็นต้นมา มาโคโตะ ฮาเซเบะ,นาโอฮิโร ทาคาฮาระ,อัตสึโตะ อุจิดะ และแน่นอนที่สุดคือยอดผู้เล่นอย่าง ชินจิ คางาวะ นักเตะเหล่านี้ย้ายเข้าไปและสร้างความประทับใจในฐานะนักฟุตบอลและในฐานะมืออาชีพ และนั่นคือการเปิดประตูให้นักเตะญี่ปุ่นรุ่นหลังได้เดินตามรอยมาอีกมากมาย และหลังจากนั้นเหล่าซามูไรจากแดนตะวันออก
ก็มุ่งหน้าไปเฉิดฉายในตะวันตกคนเเล้วคนเล่า เช่นเดียวกับพระเอกของเรื่องในวันนี้อย่าง มิตสึรุ มารุโอกะ ที่อยู่ในช่วงเวลาแห่งปรากฎการณ์นั้นด้วย
คนต่อไป “หนึ่งในวิธีที่ทำให้ผู้เล่น รวมถึงโค้ชของเรายกระดับ คือการส่งพวกเขาไปเล่นต่างประเทศ ตอนที่เจลีกเริ่มแข่งขัน สักช่วง 20 ปีก่อน เราแทบไม่เคยได้ยินชื่อนักฟุตบอลญี่ปุ่น เล่นต่างประเทศ เพราะพวกเขาเก่งไม่พอ” ประโยคนี้จาก มิตสึรุ มุราอิ ประธานฟุตบอลเจลีก บอกเล่าถึงช่วงเวลาของ มารุโอกะ
ได้เป็นอย่างดี มารุโอกะ เป็นนักเตะญี่ปุ่นชุดกลางๆ ตามหลังพวก ฮาเซเบะ,อุจิดะ และ คางาวะ ไปอยู่ไม่กี่ปี แต่ความพิเศษของเขาที่ทำให้วงการฟุตบอลญี่ปุ่นรู้ว่าตลาดนักเตะบ้านเขาบูมในหมู่ทีมเยอรมันเเล้วนั่นเอง เพราะในช่วงก่อนที่ มารุโอกะ จะย้ายไปเล่นในเยอรมัน เขาแทบไม่มีประสบการณ์ในเจลีกเลย แต่นั่นไม่สำคัญเท่ากับ “ความมั่นใจในศักยภาพ” ของเหล่าแมวมองจากเยอรมันที่มาช้อนเเข้งเกรด A ในเจลีกโดยไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์เป็นเครื่องยืนยัน
มารุโอกะ เกิดในจังหวัดโทคุชิมะ ก่อนเข้าระบบอคาเดมี่ของ เซเรโซ โอซาก้า ในปี 2011 ซึ่งสาเหตุที่ได้เข้าอคาเดมี่นั้นเกิดจากช่วงที่เขาเรียนอยู่ในมัธยมมารุโอกะ ถือเป็นเด็กปีศาจของโรงเรียนมัธยมต้นโทคุชิมา คาวาอุจิ ที่สามารถแบกทีมผ่านเข้ารอบ 8 ทีมสุดท้ายในฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติมัธยมต้น เมื่อเข้าไป
อยู่ในอคาเดมี่ของ เซเรโซ โอซาก้า ชุดยู 18 ได้ไม่นาน มารุโอกะ ถูกตั้งฉายาว่า “คนต่อไป” … ซึ่งฉายานี้ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นตำนานของสโมสรคนต่อไปอย่างที่ใครเข้าใจ แต่มันหมายความว่าเขาจะกลายเป็นนักเตะของ เซเรโซ คนต่อไปที่จะได้ไปเล่นในยุโรป ซึ่งก่อนหน้านี้ เซเรโซ เคยปล่อยตัว ชินจิ คางาวะ,ฮิโรชิ คิโยตาเกะ และ โยอิจิโร คาคิตานิ ไปลุยก่อนหน้านี้เเล้ว
คลิ๊กเลย >>> https://www.ufabetwins.com/
อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล